ความสำคัญของการเลือกใช้โลหะหรือโลหะผสมให้เหมาะสมกับสภาพอุตสาหกรรม

รศ.ดร.กอบบุญ  หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย บทคัดย่อ             บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกใช้โลหะหรือโลหะผสมให้เหมาะสม เพราะสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การผลิตหยุดชงักมาจากความเสียหายของเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะหรือโลหะผสม เนื่องมาจากการเลือกหรือออกแบบไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน การหยุดการผลิตบ่อยครั้งเพื่อการซ่อมบำรุง หมายถึงการเพิ่มต้นทุนและลดผลกำไร    บทนำ วัสดุที่ใช้ในงานวิศวกรรมมีอยู่ 3 ประเภท คือ โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์ หากเปรียบเทียบสมบัติของวัสดุทั้งสามประเภทโดยประมาณตามตารางที่ 1 จะพบว่า โดยภาพรวมโลหะจะมีสมบัติเชิงกล เช่น ความแข็งแรง (Strength)ความแกร่ง (Toughness)หรือความทนทานการกระแทก (Impact strength) ความแข็งแรงการล้า (Fatigue strength) ความทนทานการคืบหรือการยึดตัวที่อุณหภูมิสูง (Creep resistance) ความทนทานการกัดกร่อน (Corrosion resistance)และการขึ้นรูป (Fabrication)เช่น การหล่อ การเชื่อม ดีกว่า … Continue reading ความสำคัญของการเลือกใช้โลหะหรือโลหะผสมให้เหมาะสมกับสภาพอุตสาหกรรม